ธนาคารน้ำใต้ดิน ฝากน้ำไว้ดิน แก้ภัยแล้งป้องกันปัญหาการเกิดน้ำท่วมขัง

เทศบาลตำบลบึงเจริญจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อฝากน้ำไว้ดิน แก้ภัยแล้งป้องกันปัญหาการเกิดน้ำท่วมขัง

22556

ธนาคารน้ำใต้ดิน กับน้ำบาดาล เหมือนกันหรือเปล่านี่คือความสงสัยของคนส่วนใหญ่มักจะถามกัน น้ำบาดาลกับธนาคารน้ำใต้ดิน คือแนวทางเดียวกันคืออยู่ใต้ดินหรือพื้นพิภพเหมือนกัน แต่น้ำบาดาลคือน้ำที่เขาขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ดื่มใช้กินใช้ประโยชน์กันทั่วไป แต่ธนาคารน้ำใต้ดินคือการนำน้ำไปฝากไว้ใต้ดิน เมื่อต้องการนำมาใช้ก็ทำการเบิกทำการถอนมาใช้ คือช่วงหน้าแล้งก็ต้องทำการนำน้ำใต้ดินที่ฝากไว้กับธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้นั่นเอง น้ำบาดาลมีอยู่ทั่วโลก ขุดเจาะมาใช้กันจำนวนมากจนเกิดภัยแล้งขึ้นมาเพราะไม่มีการเติมน้ำหรือเก็บน้ำไว้ในใต้ดินมีแต่ใช้แต่ไม่มีการเพิ่มการเติมก็ต้องหมดไปเป็นธรรมดานะคะ

โดยธรรมชาติแล้วเมื่อมีฝนตกลงมาน้ำก็จะซึมลงไปใต้ดินอยู่แล้ว และเมื่อมีการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้กันจำนวนมาก ก็จะทำให้น้ำในบาดาลลดน้อยลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็จะเกิดภาวะภัยแล้งอย่างยั่งยืนถาวร เพราะฉนั้นวิธีแก้ก็คือเราต้องเติมน้ำลงไปทดแทน หากเรานำน้ำบาดาลจากธรรมชาติมาใช้เราก็ต้องเติมน้ำให้มากกว่าธรรมชาติ ก็คือเราต้องขุดบ่อลงไปเพื่อเติมน้ำหรือฝากน้ำไว้ในดิน

การเติมน้ำใต้ดิน คือ การเพิ่มเติมปริมาณน้ำลงไปในชั้นน้ำใต้ดิน โดยการนำน้ำฝน น้ำท่วมหลาก หรือน้ำผิวดินอื่น ๆ เติมลงสู่ใต้ดินในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
ประโยชน์ของการเติมน้ำใต้ดิน ได้แก่
1. ฟื้นฟูแหล่งน้ำใต้ดิน แก้ปัญหาการลดลงของระดับน้ำใต้ดิน
2. บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง ลดปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน และลดความเสียหายในช่วงฤดูน้ำหลาก
3. แก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำที่เติมไว้ใต้ดิน สามารถสูบขึ้นมาใช้ในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
4. ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม เมื่อระดับน้ำบาดาลสูงขึ้นทำให้มีแรงดันมากพอจะผลักดันน้ำเค็มให้ไกลออกไปจากชายฝั่ง
5. ลดค่าใช้จ่ายในการทรุดบ่อ ระดับน้ำใต้ดินฟื้นตัวขึ้นมา จึงไม่ต้องขุดบ่อน้ำลึกกว่าเดิม

 

22559

 

22558

 

22557